วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557


10 ประเทศอาเซียน


          นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่ปี ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งขณะนี้ก็ดูเหมือนว่าประเทศของเราจะมีความตื่นตัวในการเปิดเขตเศรษฐกิจ เสรีอาเซียนอยู่ไม่น้อยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการจัดสัมมนา ฝึกอบรมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนอย่างมากมาย

          สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ซึ่งอาเซียนมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน ญี่ปุ่นและอินเดีย เป็นต้น

          
ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

         
 โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
          ธงชาติอาเซียน มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

          สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
          สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

         
สำหรับหลักและวิธีการประดับธงอาเซียน และธงชาติของประะเทศสมาชิกอาเซียนให้ เรียงโดยเริ่มจากธงอาเซียนแล้วต่อด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ตามลำดับอักษรชื่อประเทศดังนี้

          1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)   

ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550)โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
                 
          ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ 

           สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์

           สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี

          สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
 
                                  
 บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : อัมบูยัต (Ambuyat)    


          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา)

เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้                              
                
          ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

           สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์

           สีแดง หมายถึง ชาติ

           ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ
 
                                   
กัมพูชา (Cambodia) : อาม็อก (Amok)


          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)

เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ 
                 
ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ

           สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม
 
                         
  

       
อินโดนีเซีย (Indonesia) : กาโด กาโด (Gado Gado)

          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว)          

 
          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

          ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว

           สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ

           พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ

          สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง

 
 ลาว (Loas) : ซุบไก่ (Chicken Soup) 

          5. Malaysia (มาเลเซีย)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

          ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

           แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย

           ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด

           พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ

           สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ

           สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

         
 
 มาเลเซีย (Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)



          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)

เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ  
               
          ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า

           สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี

           สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด

           ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
 
                                   
 พม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet) 


          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)


เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)  
           

          ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง

          ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม

           สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า

           ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439

           ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ  ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
 
ฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)


          8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)



          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

 
          ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก  จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า

           สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล

           รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น

           ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

       
  
สิงคโปร์ (Singapore) : ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ)


          9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)

เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  
                
          ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง ชาติ

           สีขาว หมายถึง ศาสนา

           สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

          อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า

           สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ

           สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ

           สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

          แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด
  
                                 

 ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong


  10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)

มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ   
                 
          ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม

           สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า

           สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ

           ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

เวียดนาม (Vietnam) : Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม

          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

           
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

             
- มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

             
- ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

             
- ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

             
- ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

           3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน